วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครโมโซมและยีน

โครโมโซม คือ สารพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์ เป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ เช่น สีตา สีผมความสูง และควบคุม การทำงาน ของร่างกาย โครโมโซมจะอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ในคนปกติทั่วไปแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมอยู่ทั้งหมด 23 คู่ หรือ 46 แท่ง โดยครึ่งหนึ่งคือ 23แท่งเราจะได้รับมาจากพ่อและอีก 23 แท่งจะได้มาจากแม่ และเราสามารถ ถ่ายทอดโครโมโซมครึ่งหนึ่งไปให้ลูกของเราได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีลักษณะเหมือนพ่อกับแม่ ส่วนลูกของเราก็จะมีลักษณะเหมือนเราและคู่ครองของเรานั่นเอง ดังที่กล่าวมาแล้ว คนปกติจะมีโครโมโซมอยู่ 46 แท่งในเซลล์ทุกเซลล์ จึงจะทำให้ร่างกายทำหน้าที่ได้ปกติ หากมีการเกินมาหรือขาดหายไปของโครโมโซมหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซมจะมีผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ และเกิดความพิการได้ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีโครโมโซมที่21 เกินมาหนึ่งแท่ง จะทำให้เกิดกลุ่มอาการผิดปกติ ที่เรียกว่า กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome)ซึ่งผู้ที่มีลักษณะเช่นนี้จะมีพัฒนาการช้า และอาจมีความผิดปกติของอวัยวะ อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หัวใจผิดปกติ เป็นต้น

โครโมโซมของมนุษย์ มี 23 คู่

พันธุกรรม

พันธุกรรม (อังกฤษ: genetics) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น (Generation) เช่น รุ่นพ่อแม่ลงไปสู่รุ่นลูกหลาน มีการเริ่มต้นการศึกษาเรื่องพันธุกรรมโดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นผู้ที่ค้นพบและอธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ในช่วงกลางของทศวรรษที่ 18
พันธุกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆแตกต่างกันไปมากมาย โดยมีหน่วยควบคุมที่เรียกว่ายีนส์ ซึ่งมีทั้งยีนส์ที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีนส์ที่ควบคุมลักษณะด้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปคือสภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม

พันธุกรรม

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ประวัติรัชกาลที่9

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ ๙ ครองราชย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ มลรัฐแมซซาชูเซทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เมื่อพระชนมายุได้ ๑ พรรษา ได้เสร็จนิวัตสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ภายหลังจากที่สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคตแล้ว ได้เสด็จกลับไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเข้ารับการศึกษา ณ ที่นั้น เมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบแทน เมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วทรงเสด็จไปศึกษาต่อในวิชานิติศาสตร์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและได้ทรงเข้าพระราชพิธี อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศ เป็น ม.ร.ว.สิริกิต์ กิติยากร พระธิดาของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และได้ประกาศ พระบรมราชโองการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
ได้มีพระบรมราชาภิเษก เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร์ รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓
ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงเสด็จนิวัติพระนคร ได้เสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นเอนกประการ แผ่ไพศาลไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั้งในยุโรป เอเชีย และ อเมริกา เพื่อเจริญพระราชไมตรีอย่างกว้างขวาง ปรากฎพระเกียรติคุณอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้านในประเทศทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบทที่อยู่ห่างไกล เพื่อรับ ทราบปัญหาต่าง ๆ โดยตรงและได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น พร้อมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยตนเองได้
พระราชกรณียกิจของพระองค์ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ และในฐานะส่วนพระองค์เป็นไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทรงเต็มเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ยากที่จะหาผู้เสมอเหมือน ทรงมีพระราชศรัทธาตั้งมั่น และแตกฉานในพระศาสนาและทรงถ่ายทอดแก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกโอกาส ดังเราจะได้พบในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสต่าง ๆ อย่างมิรู้สิ้น

ประวัติสิงห์บุรี

จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือ 514,049 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอสรรพยา (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอตาคลี (จังหวัดนครสวรรค์)
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่และอำเภอท่าวุ้ง (จังหวัดลพบุรี)
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอสรรคบุรี (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)

[แก้] ภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเป็นอย่างมาก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่น ๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้และไม่มีแร่ธาตุที่สำคัญ
ลักษณะของภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น
ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 36.30 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,047.27 มิลลิเมตร/ปี
ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 27 องศาเซลเซียส

[แก้] ประวัติศาสตร์
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า "...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียรแบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้..." ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย

[แก้] ยุคก่อนประวัติศาสตร์
พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด เป็นต้น

[แก้] สมัยทวารวดี
พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ที่ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี
เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอยกำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ
แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ที่ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาดกว้าง 5 เมตร

[แก้] สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและลำน้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้นได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

[แก้] สมัยอยุธยา
ปรากฏเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง และทรงตั้งเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้ว เมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองหน้าด่านรายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นหัวเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา
ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็นเมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไปสืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกันก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา
ในปี พ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพะสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพะสิมถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี)
พ.ศ. 2308 สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้กับพม่าที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฏชื่อ คือ
พระอาจารย์ธรรมโชติ
นายแท่น
นายโชติ
นายอิน
นายเมือง
นายทองแก้ว
นายดอก
นายจันหนวดเขี้ยว
นายทองแสงใหญ่
นายทองเหม็น
ขุนสรรค์
พันเรือง
โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่าและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วีรชนบ้านบางระจัน)

[แก้] สมัยธนบุรี
เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครกรุงธนบุรี

[แก้] สมัยรัตนโกสินทร์
มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภออินทร์บุรีและอำเภอพรหมบุรีขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็น "อำเภอสิงห์" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน
ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึง

สถานที่สำคัญจังหวัดราชบุรี

l
ประวัติจังหวัดเพชรบุรี เพชรบุรีเป็นเมืองเก่าที่สุดเมืองหนึ่งในประเทศไทย แต่ไม่มีศิลาจารึกบ่งบอกไว้เป็นหลักฐานตำนานเมืองส่วนใหญ่ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาได้จากการสันนิษฐานจากโบราณวัตถุที่ตกมาถึงสมัยนี้ สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1000-1500) เพชรบุรีเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นต่ออาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีจังหวัดนครปฐมเป็นราชธานี ชื่อเมืองเพชรบุรีนั้นสันนิษฐานว่าพวกพราหมณ์เป็นผู้ตั้งชื่อ โดยนำมาจากอาวุธของพระเป็น เจ้าของพราหมณ์ คือ วชิราวุธ เนื่องจากพวกพราหมณ์ได้เข้ามาสู่ดินแดนแถบนี้นานมาแล้ว ตั้งแต่สมัยที่อารยธรรมอินเดียเข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิหรืออาจตั้งชื่อ จากเพชรพลอยจากเขาเพชร พลอยที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งกล่าวกันว่ามีเพชรพลอยสีขาวหลุดลอยมาตามน้ำก็อาจเป็นได้ ชื่อเดิมของเพชรบุรีคือ พริบพรี หรือเพชรพลี สมัยศรีวิชัย (พ.ศ. 1200-1800) ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 กษัตริย์ผู้ครองนครศรีธรรมราชได้แผ่อำนาจเข้ามาถึง ทวารวดีและเขมร เพชรบุรีจึงตกอยู่ในอำนาจของกษัตริย์นครศรีธรรมราชด้วย มี หลักฐานปรากฎว่าที่วัดธ่อมีพระพุทธรูป ทำด้วย หินทรายแบบศรีวิชัยอยู่ 2 องค์ นอกจากนี้ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า พระเจ้าธรรมราชนาเคนทร์ผู้ ครองนครศรีธรรมราช ได้ส่งราชโอรสมาครองเมืองเพชรบุรี มีพระนามว่า พระพนมทเลศรีมเหนทราธิราช กับยังมีเรื่องราวปรากฎว่าในสมัยนั้นบริเวณเมืองเพชรบุรีมีฝางมาก พระเจ้าร่มฟ้า กรุงจีนได้แต่งสำเภาให้ราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการ มาถวายกษัตริย์ผู้ครองเมืองเพชรบุรี แล้วขอพระราชทานฝางไป กล่าวกันว่าครั้งนั้นได้ฝางไปเป็นจำนวนมากเป็นที่พอพระทัย พระเจ้ากรุงจีนจึงทรงยกนางจันทรเทวีศรีบาทราชบุตรีศรีทองสมุทร มาถวายเป็นมเหสีของกษัตริย์เมืองเพชรบุรีราชบุตรีผู้นี้ในตำนานกล่าวว่า เกิดในดอกหมาก จึงสันนิษฐานว่านางคงเป็นเชื้อกษัตริย์จามใต้ หรืออาณาจักรปาณุฑรงค์ซึ่งเป็นตระกูลดอกหมากอยู่ในแคว้นจาม และในสมัยนั้นชาวเพชรบุรีคงจะมีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรจามหรือจัมปา ซึ่งอยู่ในอาณาจักรญวนตอนใต้ก็อาจเป็นได้ สมัยกรุงสุโขทัย ในปลายพุทธศตวรรษที่ 17 เมืองเพชรบุรีตกเป็นของไทยดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่าพระเจ้า ศรีอินทราทิตย์มีอาณาเขตปกครองถึงเมืองเพชรบุรี สมัยที่พระเจ้ารามคำแหงมหาราชเสด็จลงไปรับพระพุทธสิหิงค์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ได้ประทับพักแรมที่เมืองเพชรบุรี เพชรบุรีจึงอยู่ในความปกครองของสุโขทัยจนกระทั่งราชวงศ์พระร่วง เสื่อมอำนาจลง กรุงศรีอยุธยาก็ได้เข้าปกครองเมืองเพชรบุรีสืบต่อมา สมัยกรุงศรีอยุธยา เพชรบุรีเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งทางใต้ขึ้นกับประแดงจุลาเทพซ้ายและมีเรื่องราว เกี่ยวกับเมืองเพชรบุรีดังนี้ พ.ศ. 2118 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา นักพระสัฏฐาผู้ครองกรุง ละแวกทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกแล้ว คงจะอ่อนกำลังลง เห็นเป็นโอกาสที่จะ มาตีเมืองเพชรบุรีเพื่อปล้นสะดม และกวาดต้อนครอบครัวไปเมืองเขมร จึงแต่งตั้งให้พระยาอุเทศราชกับพระยาจีนจันตุคุมทัพเรือมาตีเมืองเพชรบุรี ขณะนั้นพระสุรินทฤาชัยเจ้าเมืองเพชรบุรีป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็ง จึงตีเมืองไม่สำเร็จจำต้องยกทัพกลับไป แต่พระยาจีนจันตุได้ปฏิญาณไว้ว่าถ้าตีเมืองเพชรบุรีไม่ได้จะไม่กลับเมืองเขมร ดังนั้นจึงลอบมาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ครั้นต่อมาทราบว่านักพระสัฏฐาไม่เอาโทษจึงหนีกลับไปเขมร ใน พ.ศ. 2124 ได้อาสานำกองทัพเข้ามาตีเพชรบุรีอีกเพื่อแก้ตัวใหม่ ทัพเขมรที่ยกมาครั้งนี้มีกำลังถึง 70,000 คน พระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาได้โปรดให้เมืองเทพราชธานี กับเมืองยโสธรยกทัพมาช่วยเมืองเพชรบุรี เขมรยกกำลังเข้าตีเมืองเพชรบุรีถึง 3 ครั้ง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาแม่ทัพไทยทั้ง 3 แตกความสามัคคีกัน การป้องกันเมืองจึงไม่พร้อมเพรียงกัน ทัพเขมรเข้าตีด้านคลองกระแชงทางหนึ่ง ทางประตูบานจานอีกทางหนึ่ง ทางด้านคลองกระแชงนั้นกำแพงหักลงไป ที่ตรงนั้นในปัจจุบันเรียกว่าบ้านกำแพงหัก ข้าศึกยกเข้าเมืองได้ แม่ทัพไทยทั้ง 3 ต่อสู้จนเสียชีวิตในสนามรบ เมื่อเขมรเข้ายึดเมืองได้แล้วก็กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สมบัติกลับเมืองเขมร ส่วนเมืองเพชรบุรีปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ครอบครอง พ.ศ. 2153 ในรัชสมัยพระเจ้าศรีเสาวภาคย์ พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินใหม่ จึงก่อการกำเริบขึ้น ยกพวกเข้าไปในพระราชวังจับพระเจ้าศรีเสาวภาคย์ได้แล้วบังคับ ให้เซ็นสัญญาว่าจะไม่โทษ และไม่ทำร้ายพวกญี่ปุ่น พระเจ้าศรีเสาวภาคย์จึงจำยอม พวกญี่ปุ่นจับข้าราชการไทยที่ญี่ปุ่นเกลียดชังฆ่าเสียหลายคน แล้วยกพวกไปตั้งมั่นอยู่เมืองเพชรบุรีตามจดหมายเหตุของฮอลันดากล่าวว่า พวกญี่ปุ่นก่อความวุ่นวายขึ้นที่เมืองเพชรบุรี จึงถูกขับไล่ออกจากเมืองไปพวกญี่ปุ่นไปรวมกันอยู่ที่บางกอก ภายหลังถูกขับไล่ออกจากกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2171 ในรัชสมัยพระเชษฐาธิราช พระศรีศิลป์ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นอนุชาของพระเจ้า ทรงธรรมคิดชิงพระราชสมบัติจากพระเชษฐาธิราช แต่ถูกจับได้แล้วส่งมาจำขังไว้ที่เมืองเพชรบุรี แต่หลวงมงคลซึ่งเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรีซึ่งเป็นพระญาติของ พระศรีศิลป์ ได้ช่วยให้พระศรีศิลป์ออกจากที่คุมขัง แล้วชักชวนชาวเพชรบุรีให้ต่อสู้กับพระเชษฐาธิราช พระเชษฐาธิราชให้เจ้าพระยากลาโหม ยกกำลังมาปราบปราม แต่กองทัพของหลวงมงคลและพระศรีศิลป์เสียที พระศรีศิลป์ถูกจับสำเร็จโทษ ส่วนหลวงมงคลนั้นเจ้าพระยากลาโหมเห็นว่ามีความซื่อสัตย์กล้าหาญ จึงเกลี้ยกล่อมไว้เพื่อเป็นกำลังต่อไป แต่หลวงมงคลมีความซื่อสัตย์ต่อเจ้านายของตนเอง และยอมรับโทษประหารชีวิต พ.ศ. 2302 ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าอลองพญาแห่งกรุงหงสาวดีโปรดเกล้าฯ ให้มังระราชโอรสกับมังมหานรธายกทัพมาตีเมืองไทยทางปักษ์ใต้ เมื่อตีได้หัวเมืองทางใต้แล้วจึงยกย้อนขึ้นมาทางเมืองเพชรบุรีและราชบุรี ทางกรุงศรีอยุธยาให้พระยารัตนาธเบศร์ยกกองทัพมารับที่เมืองเพชรบุรี ได้ตั้งทัพคอยอยู่หลายวันไม่พบทัพพม่ายกมา จึงถอยทัพกลับไป ทัพพม่าจึงผ่านเมืองเพชรบุรีไปตั้งทัพอยู่ที่ราชบุรีได้โดยสะดวก เมื่อพระเจ้าอลองพญาเลิกทัพกลับไปแล้ว เมืองเพชรบุรีก็กลับมาเป็นของไทยอีก พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระโปรดเกล้าฯ ให้มังมหานรธามาตีเมืองทวายมะริดและหัวเมือง ปักษ์ใต้อื่นๆ แล้วจึงยกย้อนมาถึงเมืองเพชรบุรี ได้ปะทะกับกองทัพไทยของพระยาพิพัฒน์โกฏษากับพระยาตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) พม่าสู้ไม่ได้ต้องล่าทัพกลับไป เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 เมืองเพชรบุรีมิได้เกี่ยวข้องกับการรบพุ่ง แต่คงถูกทหารพม่าปล้นบ้าง เป็นที่น่าสังเกตว่าได้มีพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาที่เคยเสด็จประพาส เมืองเพชรบุรี คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังตำบล สามร้อยยอดเมืองเพชรบุรีทางสถลมารค ในปี พ.ศ. 2134 และประทับแรมที่นั้นเป็นเวลา 14 วัน เพื่อทรงเบ็ด หลังจากนั้นได้เสด็จมาประทับแรม ณ ตำหนักที่ตำบลโตนดหลวงเพื่อประพาสทะเลทรงเบ็ด และทรงพักแรมกลางทะเลเป็นเวลา 2 คืน รวมเวลาประทับแรมที่ตำบลโตนดหลวง 12 วัน แล้วจึงเสด็จฯ เข้าเมืองเพชรบุรี สมเด็จพระเจ้าเสือเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่ง ที่เคยเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีเพื่อทรงเบ็ด เมื่อ พ.ศ. 2246 ประทับแรมที่ตำบลโตนดหลวง ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระเจ้าเสือเลยไปถึงตำบลสามร้อยยอดเพื่อทรงเบ็ด แล้วเสด็จย้อนกลับมายังตำหนักโตนดหลวง จึงเสด็จกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 แล้ว พระยาเพชรบุรีและชาวเมืองร่วมกับเมืองอื่น ๆ อีก 11 เมือง ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้อิสรภาพกลับคืนมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325) ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2325-2394) เมืองเพชรบุรีคงเป็นหัวเมือง ชั้นตรีตามหลักการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองเพชรบุรีได้เข้าร่วมทำสงครามครั้งสำคัญ ๆ ในประวัติศาสตร์หลายครั้ง เช่น สงคราม เก้าทัพในรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2328) และในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรบุรี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและ เจ้าเมืองสงขลาร่วมกันยกทัพไป ปราบหัวเมืองทางใต้คือไทรบุรีกลันตันที่คิดเอาใจออก***งจากไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพชรบุรีเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลราชบุรีใน พ.ศ. 2435 จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ. 2476 เพชรบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยตามแบบการปกครอง ส่วนภูมิภาคในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน เมืองเพชรบุรีเป็นเมืองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ เนื่องจากอากาศดี มีทัศนียภาพสวยงาม มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีประวัติย้อนหลังไปถึงสมัยขอมเรืองอำนาจทาง ดินแดนแถบนี้และในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่นสิ่งก่อสร้างและภาพเขียนในพระอุโบสถตามวัดต่าง ๆ อันทรงคุณค่ายิ่ง ในปี พ.ศ. 2401 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนครคีรีขึ้นบนยอดเขามหาสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองเพชรบุรี อยู่เป็นอันมาก ดังจะเห็นได้จากการเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีหลายครั้ง เช่นใน พ.ศ. 2418, พ.ศ. 2429, พ.ศ. 2447, พ.ศ. 2452 และ พ.ศ. 2453 เพื่อทอดพระเนตรวัดวาอาราม พระนครคีรี ถ้ำ และทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศที่มาพักแรมที่เพชรบุรีในปี พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังบ้านปืนเพื่อสำหรับประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีหลายครั้ง และทรงสร้างพระราชวังบ้านปืนที่ยังสร้างค้างอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่วเสร็จเรียบร้อย พระราชทานนามว่าพระรามราชนิเวศน์ ได้ทรงสร้างพระราชฐานชายทะเลคือค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ ซึ่งต่อมาได้ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปสร้างพระราชวังใหม่ที่ชะอำ เรียกว่าพระราชนิเวศน์มฤทายวัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองเพชรบุรีอยู่เป็นอันมาก ได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระองค์มาประดิษฐานไว้ ในองค์พระปรางค์ 5 ยอด วัดมหาธาตุวรวิหาร และได้เสด็จไปทรง ริเริ่มโครงการพัฒนาที่ดินและชลประทานหลายโครงการ เพื่อให้ราษฎรได้มีที่ทำมาหากิน และช่วยกันจดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตร เช่น โครงการหุบกะพงอันมีชื่อเสียงเลื่องลือเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพชรบุรีจึงเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวเมืองมีความรักใคร่และยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์เพชรบุรี มีพระบรมราชานุสรณ์ที่น่าภาคภูมิใจ นั่นคือพระราชวังในอดีตถึง 3 แห่ง พระอารามหลายแห่งมีโบราณสถานอันสูงค่า ในพระอุโบสถมีภาพเขียนเก่าแก่ฝีมือเยี่ยม ตามประตูมีภาพแกะสลักสวยงาม ภูเขา ถ้ำ ทะเลสาบ และหาดทรายชายทะเลล้วนแต่น่าชมชวนให้เพลิดเพลิน ขนมหวานหลายหลากชนิดอร่อยชวนรับประทาน เพชรบุรีจึงนับเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบและเหมาะสมกับคำขวัญที่ว่า เขาวังคู่บ้าน ขนมหวาน เมืองพระเลิศล้ำศิลปะแดนธรรมะ ทะเลงาม

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สวัสดีค่ะ

รักนะจุ๊บุจุ๊บุ